Translate

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

งาน


เทคโนโลยี กลิ่น รส บุคลากรสำคัญ ผลักดันเศรษฐกิจประเทศ
เทคโนโลยี กลิ่น รส บุคลากรสำคัญ ผลักดันเศรษฐกิจประเทศ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเล็งเห็นความสำคัญ และประเทศไทยขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีกลิ่นรส ทำให้ต้องนำเข้าสารแต่งกลิ่นจากต่างประเทศเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1000 ล้านบาทต่อปี จึงเกิดการเริ่มอบรม นโยบายหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐานของกลิ่นรสเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และ มหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหิดล สงขลานครินทร์ นเรศวร จุฬาลงกรณ์และมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกลิ่นรสของประเทศ เป้าหมายของโครงการคือการที่เราจะเป็นผู้ผลิตกลิ่นรสในประเทศของเราเอง นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาและรังสรรค์กลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยของเราเองในอาหารเช่น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ซึ่งเป็นที่นิยมของในหลายประเทศทั่วโลก ถ้าเรามีนักเทคโนโลยีกลิ่นรสสัญชาติไทย ซึ่งมีความเข้าใจเรื่องรสชาติอาหารดี  

ขอขอบคุณ
ข้อมูลhttps://www.sanook.com/campus/1387393/
ภาพsanook.com
 

งาน


เทคโนโลยี "เลเซอร์" รักษาอาการ "ภูมิแพ้"

เทคโนโลยี "เลเซอร์" รักษาอาการ "ภูมิแพ้"
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบมากในสังคมไทย ซึ่งจากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบโรคภูมิแพ้ในเด็กไทยสูงขึ้นร้อยละ 38 พบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้น 3 - 4 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา

 การรักษาโดยการใช้เลเซอร์ ซึ่งจะทำการยิงเลเซอร์ไปที่ตัวเซ็นเซอร์ที่รับและสัมผัสได้ไวในโรคภูมิแพ้ จะอยู่ที่ปลายจมูกบริเวณด้านหน้า เรียกว่า Inferior Turbinate เพื่อไปทำลายตัวรับสัญญาณภูมิแพ้ที่อยู่บริเวณดังกล่าวให้ทำงานน้อยลง โดยจะไม่เกิดปฏิกิริยากระตุ้นสารก่อภูมิแพ้อีก และยังช่วยลดขนาด จำนวนของเส้นเลือดที่อยู่ใต้เยื่อบุโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้โล่งขึ้น มีน้ำมูกน้อยลง โดยพลังงานเลเซอร์ จะทำให้เนื้อเยื่อเเข็งตัว จากนั้นจะมีการปรับสภาพของเส้นเลือดเเละเยื้อบุ และประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีสะเก็ดแผล แล้วเพียงกลับมาเอาสะเก็ดออก ก็จะมีความรู้สึกโล่งจมูก อาการภูมิแพ้ลดลง ปริมาณการใช้ยาก็ลดลง 
ขอขอบคุณ
ภาพ sanook.com



งาน



เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"
รคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการถูกตัดขาหรือเท้า ซึ่งการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากเพราะ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้อาจสูญเสียงานและอยู่ในสภาพที่ต้องการการฟื้นฟูในช่วงแรก ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดขาทิ้งโดยเทคโนโลยีการรักษาที่ใช้ ได้แก่
Ultrasonic ( เทคโนโลยีการเลาะเนื้อเยื่อเล็ก )
Versajet Debridement ( การผ่าตัดด้วยน้ำ )                            Hyperbaric oxygen therapy ( HBOT )  ( เทคโนโลยีการบำบัดออกซิเจนเพื่อสุขภาพ
ขอขอบคุณ
ภาพ sanook.com
เอกสาร